เมนู

2. ปฐมวิวาทมูลสูตร


ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท 10 ประการ


[42] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร
หนอแล.
พ. ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี 10 ประการ 10 ประการ
เป็นไฉน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม
ว่าเป็นธรรม ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม... ย่อมแสดงสิ่งที่
ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ว่า ตถาคตได้บัญญัติไว้ ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตได้
บัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้ ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาท
มี 10 ประการนี้แล.
จบปฐมวิวาทมูลสูตรที่ 2

3. ทุติยวิวาทมูลสูตร


ว่าด้วยมูลเหตุแห่งการวิวาท 10 ประการ


[43] อุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มูลเหตุแห่งการวิวาท มีเท่าไร
หนอแล.
พ. ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทมี 10 ประการ 10 ประ-
การเป็นไฉน ดูก่อนอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็น
อาบัติว่าเป็นอาบัติ ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นอาติว่าไม่เป็นอาบัติ ย่อมแสดง
อาบัติเบาว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อมแสดงอาบัติหนักว่าเป็นอาบัติหนัก ย่อม
แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า ไม่เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติไม่ชั่ว

หยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ ย่อมแสดงอาบัติมีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติ
ไม่มีส่วนเหลือ ย่อมแสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ
ย่อมแสดงอาบัติที่ทำคืนได้ว่า เป็นอาบัติที่ทำคืนไม่ได้ ย่อมแสดงอาบัติที่
ทำคืนไม่ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนได้ ดูก่อนอุบาลี มูลเหตุแห่งการวิวาทที่
10 ประการนี้แล.
จบทุติยวิวาทมูลสูตรที่ 3

4. กุสินาราสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงพิจารณาธรรม 5 ประการในตน


[44] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์เป็นที่
นำไปทำพลีกรรม ใกล้กรุงกุสินารา ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม 5 ประการใน
ตน พึงเข้าไปตั้งธรรม 5 ประการไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม
5 ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีกาย-
สมาจารอันบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด
ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ มิได้เป็น
ผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมี
ผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิด